วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 (11/03/2555)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ สำหรับการเรียนในวันนี้ตื่นเต้นที่จะได้สอน วันนี้เป็นวันปฏิบัติการสอน วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตั้งแต่เวลา 9.00- 17.50 ซึ่งอาจารย์ได้คอมเมนท์ สรุปได้ว่า

ส่วนใหญ่จะเหมือนๆ กัน คือ คำคล้องจองไม่มีหัว เขียนไม่เว้นวรรค รูปภาพควรจะอยู่ด้านบนตัวหนังสือ ตอนสรุปไม่วาดภาพแต่เขียนเป็นตัวหนังสือส่วนของดิฉันที่อาจารย์คอมเมนท์

ขั้นนำ
ปริสนาคำทายดีแล้ว แต่ควรนำสิ่งที่เด็กคุ้นเคยมาทาย ไม่ยากเกินสำหรับเด็ก

ขั้นสอน

ให้เด็กดูภาพแล้วถามประสบการณ์เดิมได้ แต่ควรจะนำดอกไม้จริงมาสอนไม่ควรนำภาพมาทั้งหมด ดอกไม้ควรใส่ภาชนะ เวลาให้เด็กดูภาพควรติดภาพทันที เวลาแยกชนิดควรนะตระกร้ามาใส่เพื่อให้เด็กนับ ไม่ควรนำภาพมาติดแล้วให้เด็กนับ

ขั้นสรุป
ดีแล้วถามทบทวนเด็กจากที่เรียนไปว่าเด็กรู้จักดอกอะไรบ้าง

ตอนฝึกสอนจริง ควรจะเป็นดอกไม้จริงนะคะ

ในการสอบสอนครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ความรู้และเทคนิคการสอนที่ถูกต้องจากอาจารย์มากมายคุ้มค่ากับการเรียนในครั้งนี้คะ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (06/03/2555)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้บรรยากาศในการเรียนอากาศหนาว วันนี้อาจารย์นัดสอบสอนแต่เพื่อนๆ ไม่พร้อมที่จะสอนกัน อาจารย์เลยนัดมาสอนในวันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555
เกณฑ์การให้คะแนนในการสอบสอนครั้งนี้
1. ดูแผนการสอนตรงตามมาตรฐานหรือไม่
2. การสอน -บูรณาการ
-สื่ิอ
-เทคนิค
-การประเมิน

อาจารย์ได้ตรวจสื่อที่จะนำมาสอนและแนะนำเพิ่มเติม ให้ไปแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อเตรียมตัวที่จะสอบสอน การเขียนคำคล้องจองหรือเพลงต้องเขียนแยกคำเพื่อให้เด็กเข้าใจและจดจำคำว่าแต่ล่ะคำเขียนอย่างไรและคำๆนั้นมีกี่พยางค์ และการเขียนคำคล้องจองหรือเพลงต้องมีภาพประกอบแทนคำด้วยเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและรู้ความหมายระหว่างคำกับภาพ เช่น คำว่าดอกไม้ให้ใส่ภาพดอกไม้แทนคำ อาจารย์ได้นำแผนโปรแจกมาให้ดูว่าเขียนแบใด เขียนเรื่องรถ อาจารย์ให้ความรู้ว่าคณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว และเป็นมาตรฐานสากลแบบเดียวกันที่มีบวก ลบ คูณ หาร ที่เหมือนกัน เวลาที่เราสอนเด็กต้องดึงประสบการณ์ เพราะประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน

เนื่องจากเพื่อนในห้องเกิดอุบัติเหตุรถล้ม อาจารย์เป็นห่วงจึงเลิกเรียนเร็วเพื่อให้เพื่อนไปหาค่ะ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 (28/02/2555)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ บรรยากาศการเรียนวันนี้ดีไม่ค่อยหนาวเหมือนทุกครั้ง อาจารย์ขอดูแผนที่ตัวเองถ่ายเก็บไว้เพื่อที่จะดูว่าตรงกับมาตรฐานไม่แต่เพื่อนบางคนไม่ได้นำมา

มาตารฐานคณิตศาสตร์

การนับ
การวัด
การจำแนก การจัดหมวดหมุ่
พิชคณิต คือ แพ็ทเทิต หรือ รูปแบบ อาจารย์ยกตัวอย่างให้รู้ว่า แพ็ทเทิตคืออะไร ให้นักศึกษาออกมา 3 คน แล้วให้เพื่อนอีก 3 คนมาทำตามรูปแบบเพื่อน 3 คนแรก
ความสัมพันธ์สองแกน จะต้องนึกถึงพวกกราฟ แต่ของเด็กจะเป็นพวกภาพทั้งหลายจะนำไปสู่พิชคณิต

ทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์
1. มีการแก้ไขปัญหาอยากง่าย
2. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
มีวิธีคิดคือ ในการบอกเหตุผล อาจารย์วาดรูปเค้กหนึ่งชิ้น มีเพื่อนอยู่ สามคนจะแบ่งให้อย่างไรให้เท่าๆกัน

วิธีที่ 1 แบ่งเป็นรูป สัญลักษณ์บวก แล้วจะเหลือเศา 1 ชิ้น ชิ้นที่เหลือมาแบ่งอีก 3 ส่วน เพราะเด็กแบ่งได้ง่ายขึ้น
วิธีที่ 2 ตัดเป็นรูปตัว Y เพราะเด็กเห็นได้ชัดว่ามี 3 ส่วน
วิธีที่ 3 ตัดเป็น 4 ส่วน แล้วแบ่งเป็นชั้นๆ 3 ชั้น นี่คือเหตุผลของแต่ละคนของนักศึกษา

วิธีที่เลือกที่ถูกที่สุด คือ แบ่งเป็นรูปบวก 4 ส่วน เหลือ 1 ส่วน เพราะวิธีอื่นมันจะเหลือเยอะ คลาดเคลื่อนมากที่สุด

หมายเหตุ
อาจารย์นัดชดเชย ตั้งแต่เวาลา บ่ายโมงเป็นต้นไปวันศุกร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อตรวจแผน

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12(21/02/2555)

สวัสดีคะอาจารยืและเพื่อนๆ บรรยากาศการเรียนวันนี้ดี เพื่อนๆมีงานมาส่งอาจารย์กันทุกคน วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องแผนที่ไปปรับปรุงแก้ไข ได้ถามนักศึกษาว่า ไปปรับปรุงเรียบร้อยยังถ้าปรับปรุงแล้วให้เข้ากลุ่ม เขียนสื่อที่ต้องการใช้ในการสอนให้อาจารย์เป้นกลุ่มอาจารยืจะจัดหาสื่อให้นักศึกษาหากคนไหนอาจารยืหาให้ไม่ได้อาจารย์ให้ไปหาซื้อเองแต่อาจารยืให้เงินนักศึกษากลับ แล้วอาจารย์เรียกตรวจที่ละกลุ่ม กลุ่มแรกไปตรวจแล้วหมดเวลา อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนและสื่อที่ต้องการใช้เป็นกลุ่ม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11(14/02/2555)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคนวันนี้ดิฉันไม่สบาย ได้ดูบล๊อกจากสุภาวดี ถาวรันต์ สำหรับการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการไม่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีของนักศึกษาชั้นปีที่3ว่าควรจะมีความรับผิดชอบและควรจะมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี จากนั้นอาจารย์ได้เปิดดูบล็อกของแต่ล่ะคนว่าเป็นยังไงบ้าง จึงให้นักศึกษาที่ไม่สามารถเปิดบล็อกได้มาเพิ่มและแก้ไขURLใหม่ จากนั้นอาจารย์ได้เรียกแต่ล่ะกลุ่มมานั่งรวมกันเพื่อดูแผนของแต่ล่ะกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำว่า แผนของตัวเองที่แก้มาแล้วนำมาตรวจกับมาตรฐานแล้วเขียนแผนใหม่มา จากนั้นเตรียมตัวเตรียมสื่อสำหรับการสอนต่อไป จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงหัวใจสำคัญของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ คือ
-เรื่องของสติปัญญา
-เรื่องของเนื้อหาสาระ
-ภาษา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์

สำหรับบรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ อากาศดีค่ะและการเรียนของดิฉันวันนี้ก็เป็นไปได้ด้วยดีสามารถเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์ให้คำแนะนำมากขึ้นค่ะ

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10(07/02/2555)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ดิฉันไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติเนื่องจากไม่สบาย จึงได้ศึกษาเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอนจากบล็อกของอรอุมา ว่ามีอะไรบ้างจึงสรุปได้ดังนี้ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดเรื่องงานกีฬาสีของเอก และให้ส่งแผนแต่เพื่อนๆไม่ได้เอาแผนเก่ามา เพื่อนำมาคู่กับแผนใหม่ จากนั้นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ ศิลปะ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์มีกี่ข้อ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้ การหาปริมาตร เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เวลา เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา การวัด ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่อย และอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเองคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ
(1.) แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
(2.) แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และอาจารย์ถามต่อว่าแล้วแบบผสมผสานมีหรือเปล่า
วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง
2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้
4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
5. ความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง มี 2 แบบ
6.1 เคลื่อนไหวพื้อนฐาน
6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไรคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ และอาจารย์ให้ถ่ายเอกสารเกมการศึกษา หรือภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเมื่อเราเป็นครูได้งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ อาจารย์ให้ไปดูในบล็อกศิลปะสิ่งที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 (31/01/2555)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ บรรยากาศการเรียนวันนี้ไม่ค่อยดีนักเพราะมีเพื่อนบางคนไม่เอางานมาส่ง จึงทำให้การสอนสะดุดไม่ตรงตามจุดประสงค์แต่อาจารย์มีการแก้ไข นำเรื่องอื่นมาสอนก่อน อาจารย์พูดถึงการเขียนแม๊บให้ใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เด็กกล้าแสดงออกและเด็กได้คิด เด็กจะได้มีโอกาสตอบต้องมีสาระก่อนแล้วจะไปเขียนหน่วยได้ ซึ่งหน่วยมีทั้งที่ครูเตรียมไว้และเด็กอยากเรียนทำไม่จึงเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว
หลักสูตร เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
สาระ คือเป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรนาการ การบูรนาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

มาตรฐานเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านคณิตศาสตร์ คือ
1. จำนวนและดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พิชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

หลังจากนั้นอาจารย์ให้เอาแผนที่ตัวเองทำมาดูว่าตรงกับสาระ สสวท หรือไม่

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เรื่อง จำนวน
1. บอกปริมาณจำนวน อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง
2. การอ่านเลขฮินดูอารบิก อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้
3. การเขียนจำนวนฮินดูอารบิก อายุ 5 ปี สามารถเขียนได้

เรื่องการเปรียบเทียบ
อายุ 3 ปี สามารถเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และสามารถบอกได้ว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
อายุ 4 ปี สามารถเปรียบเทียบได้แต่จำนวนไม่เกิน 10 สามารถใช้มากกว่า น้อยกว่าไ้ด้
อายุ 5 ปี สามารถเปรียบเทียบได้ สมารถใช้เท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า และ มากที่สุด น้อยที่สุด

เรื่องการเรียงลำดับ
อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
อายุ 4 ปี สามารถเรียงลำดับ 3 สิ่งได้
อายุ 5 ปี สามารถเรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง

เรื่องการรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
คือเอาจำนวนมารวมกลุ่มเดียว
อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง
อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง