วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 (27/12/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้ดิฉันไม่สบายสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้บรรยากาศในการเรียนหนาวเหมือนเดิม อาจารย์ได้เปิดบล็อกดูของแต่ล่ะคนและให้คำแนะนำในการทำบล็อกที่ถูกต้อง เช่น การเขียนคำอธิบายบล็อก นักศึกษาส่วนมากจะพิมพ์ชื่อวิชาอย่างเดียว อาจารย์จึงให้คำแนะนำว่า ควรพิมพ์ว่า แฟ้มสะสมงานรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายการทำ Mind Mapping พร้อมยกตัวอย่างเรื่องไข่ ได้คณิตศาสตร์ เช่น ไข่มีรูปเป็นทรงรี เพราะมีหลายมิติ , การนับจำนวนไข่ เป็นต้น ได้วิทยาศาสตร๋ เช่น ไข่เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา สามารถหาได้เองตามธรรมชาติ และอาจารย์ได้บอกว่าการบูรณาการใน1วันจะต้องได้
-คณิตศาสตร์
-ภาษา
-วิทยาศาสตร์
-ความคิดสร้างสรรค์
-คุณธรรมจริยธรรม
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์ จิตใจ
จากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มตามกลุ่ม Mind Mapping ในสัปดาห์ที่แล้ว แล้วให้แต่ละคนในกลุ่มเขียน Mind Mapping กิจกรรมในแต่ละวันของตัวเอง

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 (20/12/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้ดิฉันไม่สบายเลยรู้สึกว่าอากาศหนาว อาจารย์ถามว่าใครยังไม่ทำบล๊อกบ้าง อาจารย์พูดถึงนักทฤษฎี นักการศึกษาปฐมวัยว่ามีใครบ้าง
4 คนที่ต้องจำคือ อิริคสัน ฟรอยด์ เพียเจท์ กีเซล

ลำดับคณิตศาสตร์ที่เกียวข้องกับเด็ก
1. การรู้จักตัวเลข
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 การรู้จักตัวเลขอาจจะช้าแต่การรู้จักแบบ ปากเปล่าจะเร็วกว่า เพราะเด็กอกกเสียง หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อยู่ๆ จะให้เด็กนับเลขไม่ได้ จะต้องวางแผนให้เป็นระบบ คือให้เด็กจัดเป็นแถวเพื่อที่จะให้เด็กรู้ว่าคนไหนนับแล้วบ้าง สิ่งที่นับเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

2. รูปร่างรูปทรง
เด็กควรที่จะรู้จักความหมายของ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ก่อน แต่เด็กจะไม่รู้จักว่าอันไหน สามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม แต่ครู พ่อแม่ และสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กรู้ รูปร่างรูปทรงเหมือนเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ตรงกันว่าเป็นรูปร่างรูปทรง

3. การนับ
นับปากเปล่า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
นับที่จะบอกจำนวน 12345 12345 แล้วครูถามว่ามีกี่จำนวน

4. การชั่งตวงวัด
เด็กจะรู้ค่าตัวเลข ซึ่งมีหน่วยกำกับ เริ่มที่จะมีเครื่องมือมาเกี่ยวข้องแต่มันก็สัมพันธ์เกี่ยวกับปริมาณอยู่

5. การเพิ่มและลดจำนวน
คือให้เด็กนับว่า มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 พอสอนหลายๆครั้งแล้วค่อยใหัเด็กนับเพิ่มแบบ 1 2 3 4 5 6 แล้วสอนแบบลด มีอยู่ 10 เอาออก 1 เหลือ 9 มีอยู่ 9 เอาออก 1 เหลือ 8 ควรที่จะสอนอย่างเป็นระบบ

6. รู้จักความสัมพันธ์จำนวนกับตัวเลข
รู้จักตัวเลขในเชิงความหมายก่อน ที่จะใช้สัญลักษณ์

7. การจำแนกประเภท
เมื่อเป็นประเภทจะต้องมีเกณฑ์ประเภทนั้นๆ

8. การจัดหมวดหมู่
เป็นการย่อยมาจากประเภท ควรที่จะใช้เกณฑ์ 1 อย่างก่อน

9. การเปรียเทียบ
เช่น การจัดกลุ่มคนที่1 สูง 5 คนที่ 2 สูง 7 แล้วเอามาเปรียบเทียบกันว่าคนที่ 1 กับ 2 จะสูงกว่า

10. เรียงลำดับ

11. เวลา/ พื้นที่
เวลา เช้า กลางวัน เย็น กลางวัน กลางคืน
พื้นที่ ในบ้าน นอกบ้าน แคบ กว้าง จะไปสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน

อาจารย์สอนเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้ 1 ตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบ ฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉัน กลัวฉัน กลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

12 12 34 มาอยุ่ที่นี่นะแม่ 4 5 6
พี่ไม่หลอกบอกไม่โกหก แม่ 4 5 6 7 8 9 10

นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
มือซ้ายนั้นมี 5 นิ้ว มือขวานั้นมี 5 นิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้ว นับจงอย่ารีบ นับ 1ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

1 ปี นั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน 1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ บึ้ม ลั้น ลั๊น ลา ลั๊น ลา

งานกลุ่ม
- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน เขียนหน่วย แตกเนื้อหาให้เหมาะสม จันทร์-สุกรื แบ่งหน้าที่รับผิดชอบวันด้วย ส่งถัดไป

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (13/12/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้อาจารย์ย้ายมาเรียนที่ตึกคณะเนื่องจากเครื่องอำนวยความสะดวกในการเรียนไมาครบ อากาศวันนี้หนาวมาก อาจารย์สอนเกี่ยวกับเครื่องมือทางคณิตศาสตร์
เนื้อหาที่เรียน
มาตรฐาน คือ การควบคุมคุณภาพ
มาตรฐานทางคณิตศาสตร์
-เกณฑ์ในการที่เด็ฏได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องของการนับจำนวน การจำแนก พื้นฐานการบวก รูปร่างนรูปทรง เป็นต้น
-เป็นเกณฑ์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็ก
เด็กมีความสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์
เด็กจะรู้ได้ว่าเมื่อไหร่ที่เขาเข้าแถว เมื่อนั้นเวลา 8.00 โมง เพราะเป็นเวลาที่เด็กต้องเข้าแถวทุกวันจึงทำให้เด็กเรียนรู้เวลา หรือ การเซ็นชื่อคนที่มาก่อน ก่อนเส้นสีแดง คนมาสายหลังเส้นสีแดง แล้วให้เด็กนับจำนวนเปรียบเทียบ จำนวนก่อน หลัง สำหรับเด็กอาจจะใช้เป็นตัวติด แทนการเซ็นชื่อ เนื่อหาคณิตศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้
- ปริมาณมากน้อย
- จำนวน
- เปรียบเทียบ
- รูปร่างรูปทรง
- จำแนก
- ลำดับ
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คน ดูแผนประสบการณ์
แผนของแต่ละกลุ่ม
ปริมาณ (หน่วยนํ้า) สังเกตปริมาณนํ้า ขวดที่ปิดฝา/ เปิดฝา
จำนวน (หน่วยอากาศ) นับจำนวนสมาชิกในรถที่นั่งมาด้วยกัน หรือ เอาตัวเลขอาราบิกไปติดในการดื่มนมในแต่ละครั้งแล้วนับ
จำนวน 5 แก้ว
เปรียบเทียบ (หน่วยวันพ่อ) สีเข้ม/สีอ่อน จะต้องมีของ 2 อย่างขึ้นไป
รูปร่างรูปทรง (หน่วยชุมชนของเรา) เด็กสังเกตว่าโรงเรียนของเรามีรูปทรง รูปร่างอะไรบ้าง
พื้นฐานการบวก (หน่วยนกน้อย) เด็กดื่มนมวันละ 1 แก้ว ครบ 5 วันเด็กก็จะได้ดื่มนม 5แก้ว ทำสัญลักษณ์ไว้แล้วบวกนับจำนวน
ลำดับ (หน่วยฤดูร้อน) เด็กมาถึงห้องเรียน ถอดรองเ้ท้า เอากระเ๋าไปเก็บที่ชั้น แล้วไปเข้าแถว

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน การซื้อของใช้จ่าย วางแผนเวลา ซึ่งเป็นพื้นฐานในเครื่องมมือที่เราต้องใช้

อาจารย์ให้นักศึกษากลับไปทำบล๊อกแล้วมาเพิ่มคาบหน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (06/12/2554)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ บรรยากาศในการเรียนวันนี้เปิดเทอมวันแรกและมีการเรียนการสอนครั้งแรกของ วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเรียนเป็นกลุ่ม 6 คน
เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์สอนว่า การที่จะสอนคณิตศาสตร์ก่อนอื่นต้องได้หน่วยที่จะสอนเริ่มจากสาระหรือหน่วยที่เหมาะสมกับเด็ก คือ ทิ่งที่ใกล้ชิดเด็กหรือที่มีผลต่อเด็ก

การบ้านวันนี้
งานเดี่ยว หามาตรฐานในระดับ 3-6 ขวบ แบ่งเป็นระดับ
งานกลุ่ม ไปสำรวจหนังสือที่ห้องสมุดที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ต้องมี ชื่อหนังสือ เลขหมู่ ชื่อผู้แต่งให้ได้เยอะที่สุด ส่งคาบหน้า